James Jacob Ritty(1836-1918) เกิดที่รัฐโอไฮโอ
ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.
1836 ขณะเรียนวิทยาลัยแพทย์เกิดสงครามกลางเมือง(Civil
war) ขึ้นในปีค.ศ.
1861 จึงต้องหยุดเรียนเพื่อเข้าร่วมรบในสงคราม
เขาออกจากกองทัพในปี
ค.ศ.
1864 และไม่ได้กลับไปเรียนแพทย์ต่อแต่ไปทำงานเป็นช่างไม้และผลิตแผ่นมุงหลังคา
ค.ศ.
1868 เขาเปิดร้านขายเหล้าร้านแรกที่
Dayton
รัฐโอไฮโอ
กิจการไปได้ดีแต่กลับได้เงินน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากแคชเชียร์ทุจริตแอบหยิบเงินสดออกไป
ค.ศ.
1878 ขณะพักผ่อนด้วยการล่องเรือสำราญไปยุโรป
ด้วยความชอบเรื่องเครื่องยนต์กลไกเขาได้ตีสนิทกับหัวหน้าวิศวกรบนเรือจนมีโอกาสเข้าไปชมในห้องเครื่องยนต์
ทำให้ได้เห็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้บันทึกจำนวนรอบของใบพัดเรือ
สิ่งนี้เองเป็นแรงบันดาลใจให้เขานำไปประยุกต์ใช้บันทึกการทำธุรกรรม(transactions)
ที่ร้านค้าได้
เขารีบกลับไปยังสหรัฐฯ
เพื่อบอกแนวคิดนี้กับพี่น้องและร่วมกันประดิษฐ์เครื่องคิดเงิน(Cash
Register) ต้นแบบขึ้นมาโดยทำจากไม้
สิ่งประดิษฐ์นี้ได้รับการจดสิทธิบัตรในวันที่
4 พฤศจิกายน
ค.ศ.
1879
จากเครื่องต้นแบบมีการพัฒนาต่อโดยให้เห็นยอดขายทั้งฝั่งแคชเชียร์และฝั่งลูกค้า
นอกจากนี้ยังใส่เครื่องม้วนกระดาษเข้าไปเพื่อบันทึกรายการโดยเจาะรูว่ายอดขายมีจำนวนเท่าใดเพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถเช็คยอดขายได้
พี่น้อง
Rittys
ตั้งโรงงานผลิตเครื่องนี้ออกจำหน่ายจริงเป็นรุ่นแรกในปี
ค.ศ.
1880 ลูกค้าคนสำคัญคือ
John
Henry Patterson(1844–1922) เจ้าของบาร์และคาเฟ่ผู้ประสบปัญหาเงินหายจากร้านเหมือนกันพอทราบข่าวจึงซื้อมาใช้ที่ร้านจำนวน
2 เครื่องและพบว่าช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้จริง!!!
ยอดเงินสดในร้านของลูกค้าดีขึ้นแต่ยอดขายเครื่องคิดเงินกลับไม่ดีอย่างที่คิดไว้
ค.ศ.
1881 พี่น้อง
Rittys
จึงขายโรงงานให้กับ
Jacob
H. Eckert(1888–1934) พนักงานขายแก้วและเครื่องเงินจาก
Cincinnati
โดย
Eckert
ตั้งชื่อบริษัทว่า
"National
Manufacturing Company" บริหารงานไปได้แค่หนึ่งปีก็รู้ตัวว่ามีทุนไม่พอจึงหาผู้ร่วมทุนเพิ่มในปี
ค.ศ.
1882 โดยหนึ่งในผู้ร่วมทุนไม่ใช่ใครที่ไหนคือ
John
Henry Patterson นั่นเอง
ต่อมาค.ศ.
1884
Patterson กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และเขาได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น
"National
Cash Register Company"(ปัจจุบันคือ
NCR
Corporation)
จากเครื่องคิดเงินต้นแบบเมื่อ
140 ปีก่อน กลายมาเป็น
NCR
Corporation ที่ใหญ่โตในปัจจุบันได้ต้องยกความดีความชอบให้กับคุณ
Patterson
ผู้มีวิสัยทัศน์ครับ
อ้างอิง
No comments:
Post a Comment