"ส่วนแรก
BIN"
ตัวเลข 8 ตัวแรก(เดิมใช้ 6 ตัวแรก) เรียกว่า
Issuer หรือ
Bank Identification Number(IIN หรือ
BIN) พัฒนาขึ้นมาโดย
International Organization for Standardization (ISO)
มี
American Bankers Association เป็นหน่วยงานจัดสรรหมายเลข
IIN
เลขตัวแรกของ
IIN เรียกว่า
Major Industry Identifier (MII) เป็นตัวบ่งบอก
ประเภทของธุรกิจที่ออกบัตร
ดังนี้
MII
|
Issuer
category
|
0
|
ISO/TC 68 and other industry assignments
|
1
|
Airlines
|
2
|
Airlines, financial and other future industry
assignments
|
3
|
Travel and entertainment
|
4
|
Banking and financial
|
5
|
Banking and financial
|
6
|
Merchandising and banking/financial
|
7
|
Petroleum and other future industry assignments
|
8
|
Healthcare, telecommunications and other future
industry assignments
|
9
|
For assignment by national standards bodies
|
โดยค่ายผู้ออกบัตรแต่ละค่ายมีเลขขึ้นต้นของ BIN และความยาวของเลขบัตรมีกี่หลัก ดังนี้
Issuer
|
IIN(BIN)
|
ความยาวของเลขบัตร(หลัก)
|
AMEX
|
34, 37
|
15
|
JCB
|
3528-3589
|
16
|
VISA
|
4
|
13, 16, 19
|
Mastercard
|
51-55, 2221-2720
|
16
|
UnionPay
|
62, 81
|
16-19
|
"ส่วนที่สอง
PAN"
ตัวเลขบัตรเครดิตถัดมาจนถึงตัวเลขสุดท้ายเรียกว่า
Primary Account Number (PAN) จะจำเพาะต่อผู้ถือบัตรแต่ละคน โดยตัวเลขสุดท้ายจะเรียกว่า
Check digit เอาไว้ตรวจสอบว่าเลขบัตรเครดิตนั้นถูกต้องหรือไม่?
ตัวเลขถัดมาทางซ้ายก็จะรัน
1, 2, 3,... ตามลำดับการอนุมัติบัตร นั่นคือถ้าเลข
8 ตัวท้ายของบัตรเป็น
0000 077X ก็คือบัตรอนุมัติเป็นคนที่
77 นั่นเองครับ
แต่ถ้าเป็นสำนัก
TMB, BBL, AEON จะไม่ใช้วิธีการเรียงลำดับดังกล่าว
แต่จะกำหนดเลขบัตร
4 ตัวท้ายเป็นรูปแบบที่ตายตัว
คือ
X00X, X01X, X02X,... สำหรับ
TMB
X11X, X12X, X13X,... สำหรับ
BBL และ
XX0X, XX1X, XX2X,... สำหรับ
AEON
กลุ่มบัตรนี้ถ้าจะเรียงลำดับให้ดูที่เลขหลัก
8-13 หรือ
8-14 แทนครับ
ตัวอย่างเช่น
ของ
TMB เป็น
4050 1617 0001 100X อันนี้จะเป็นการออกบัตรในลำดับที่
11 ของ
Series นั้นๆ
(ตัดหลักที่ 14-16
ออกไป)
"ส่วนที่สาม Check digit"
Check digit(ในที่นี้จะแทนด้วยสัญลักษณ์
?) ได้มาจากการใช้
Luhn algorithm (เทคนิคของผมคือจำว่า
คูณสอง
ลบเก้า
คูณเก้า)
ตัวอย่างเช่นบัตร
Mastercard เลข
16 หลักคือ
5237 1645 0365 554(?) ลองมาคำนวณด้วย
Luhn algorithm กันดูว่าเลขสุดท้ายควรเป็นเลขอะไร
ขั้นแรก
จาก
Check digit(?) ไล่ย้อนมาทางซ้ายมือให้คูณที่ตัวเลขตัวเว้นตัวด้วย
2 ตัวที่เว้นไว้ไม่ต้องคูณอะไรดังนี้
(5x2) 2 (3x2) 7 (1x2) 6 (4x2) 5 (0x2) 3 (6x2)
5 (5x2) 5 (4x2) ค่าที่คูณได้คือ
(10) 2 (6) 7 (2) 6 (8) 5 (0) 3 (12) 5 (10) 5 (8)
ขั้นที่สอง
ถ้าผลคูณในวงเล็บเกิน
9 ให้ลบออกด้วย
9 จะได้เป็น
(1) 2 (6) 7 (2) 6 (8) 5 (0) 3 (3) 5 (1)
5 (8)
ขั้นที่สาม
นำตัวเลขทั้งหมดบวกรวมกัน
จะได้เป็น
(1)+ 2+ (6)+ 7+ (2)+ 6+ (8)+ 5+ (0)+ 3+
(3)+ 5+ (1)+ 5+ (8) = 62
ขั้นสุดท้าย
นำผลรวมที่ได้คูณด้วย
9 ได้ผลลัพธ์เท่าไหร่
ตัวเลขสุดท้ายคือ
Check digit(?) นั่นคือ
62x9 = 558 แสดงว่า
check digit คือเลข
8 นั่นเอง
(แสดงว่าเลขบัตรดังกล่าวคือ
5237 1645 0365 5548)
เวลาซื้อของออนไลน์จะสังเกตเห็นว่าถ้าเราพิมพ์เลขบัตรถูกต้องจะมีเครื่องหมายถูกสีเขียว
เพราะใช้
Luhn algorithm ในการตรวจสอบนั่นเอง
อ้างอิง
https://chargebacks911.com/bank-identification-numbers/หมายเหตุ อัปเดตข่าวสารทุกวันที่เพจ "สังคมไทยไร้เงินสด"
No comments:
Post a Comment