Wednesday, April 1, 2020

บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (National Credit Bureau)



แนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี .. 2504 โดยสมาคมธนาคารไทยได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามีความประสงค์ให้มีแหล่งกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการให้กู้ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มงานทะเบียนเครดิตกลางขึ้นตั้งแต่ปี .. 2507 หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา

.. 2541 กระทรวงการคลังมีนโยบายจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและลดภาระหนี้เสียของสถาบันการเงินต่างๆ อันเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนของสถาบันการเงินในประเทศอยู่ในขณะนั้น กรกฎาคม 2541 ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จึงได้สั่งการให้ ธอส. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้น โดย ธอส. ได้จัดตั้ง บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด ส่วนฝ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้จัดตั้ง บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด(เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัดในปีพ.. 2543) ต่อมาบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้รวมกิจการกับบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด(National Credit Bureau: NCB) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน

ตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตพ.ศ. 2545 กำหนดให้ธนาคารต้องส่งข้อมูลให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตโดยกำหนดรหัสบอกสถานะบัญชีดังนี้

10 หมายถึง ปกติ
11 หมายถึง ปิดบัญชี
12 หมายถึง พักชำระหนี้ตามนโยบายของสมาชิก
13 หมายถึง พักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐ
14 หมายถึง พักชำระหนี้เกษตรกรตามนโยบายของรัฐ
20 หมายถึง หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน
30 หมายถึง อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย
31 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
32 หมายถึง ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากขาดอายุความ
33 หมายถึง ปิดบัญชีเนื่องจากตัดหนี้สูญ
40 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อปิดบัญชี
41 หมายถึง เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการ
42 หมายถึง โอนหรือขายหนี้

ต่อมาพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(ฉบับที่ 3) .. 2551 กำหนดให้เครดิตบูโรสามารถจัดทำและเปิดเผยคะแนนเครดิตได้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับบริการสินเชื่อสอดคล้องกับศักยภาพในการชำระหนี้คืน ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินและเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศวันที่ 29 เม.. 2559 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบให้บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติให้บริการตรวจคะแนนเครดิต โดยเครดิตบูโรเริ่มให้บริการตรวจ NCB score ตั้งแต่วันที่ 16 .. 2559 เป็นต้นมา

แบบจำลองคะแนนเครดิต(Credit scoring) คือ เครื่องมือที่ใช้กระบวนการทางสถิติทำขึ้นเพื่อกำหนดตัวชี้วัดความน่าจะเป็นในการชำระคืนหนี้ สถาบันการเงินจึงใช้สิ่งนี้ในการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ เป็นต้น

ตัวอย่างข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณคะแนนเครดิตได้แก่

ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ขอสินเชื่อ(Demography) มาจากใบคำขอสินเชื่อ เช่น
- เพศ อายุ การศึกษา
- อาชีพ/ประสบการณ์ทำงาน
- รายได้ปัจจุบัน

ส่วนที่ 2: ข้อมูลประวัติการชำระหนี้(Payment behavior) เช่น
- จำนวนครั้งที่ค้างชำระ 12 เดือนล่าสุด
- % การใช้วงเงินเฉลี่ยใน 3 เดือน
- ระยะเวลาไม่ชำระหนี้ใน 6 เดือน
- จำนวนบัตรเครดิตที่เปิดใหม่ใน 6 เดือน
- ยอดหนี้คงค้างทั้งหมด/รายได้
- จำนวนครั้งที่เช็คข้อมูล NCB ใน 12 เดือน

ส่วนที่ 3: เงื่อนไขการกู้ยืม เช่น
- สัดส่วน down payment
- ระยะเวลาการกู้ยืม

สรุปปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนเครดิตได้แก่
1. Utilization Pattern หมายถึง ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เปรียบเทียบกับวงเงินสินเชื่อ
2. Debt Burden หมายถึง ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
3. Recent Credit หมายถึง จำนวนบัญชีที่พึ่งเปิด แต่ละประเภทสินเชื่อ
4. Severity and Recency of Delinquency หมายถึง จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
5. Depth of Credit หมายถึง ความยาวของประวัติสินเชื่อตามแต่ละประเภทสินเชื่อ
6. Thickness of Credit with good repayment หมายถึง จำนวนบัญชีที่มีประวัติการชำระเงินที่ดี
7. Available Credit หมายถึง ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
8. Enquiry Activity หมายถึง ความถี่การสมัครสินเชื่อใหม่

NCB score มีคะแนนตั้งแต่ 300 ถึง 900 คะแนน โดยตัดเกรดเป็น AA(ดีมาก) ถึง HH(แย่มาก) ดังนี้

คะแนน ระดับเครดิต
746-900 AA
716-745 BB
685-715 CC
668-684 DD
653-667 EE
631-652 FF
602-630 GG
300-601 HH

ทั้งนี้จะมีการแสดงเหตุผลประกอบการให้คะแนนไว้ไม่เกิน 5 ข้อดังนี้

014 มีภาระหนี้รวมคงค้างในระดับสูง หมายถึง มีสินเชื่ออยู่หลายบัญชีหรือไม่ แล้วหนี้ที่มีอยู่นั้นมีปริมาณมากน้อยเพียงใด หากมีหนี้เยอะจะทำให้ได้คะแนนน้อย

019 มีข้อมูลจำกัดในรายละเอียดของประวัติเงินกู้ หมายถึง หากเป็นหนี้มาไม่นานนักอาจจะไม่สะท้อนพฤติกรรมในการชำระหนี้ได้มากนัก คะแนนก็จะไม่ดี

023 มีข้อมูลแสดงการค้างชำระ หมายถึง อาจจะเคยค้างชำระหนี้มา คะแนนก็จะน้อย

027 มีจำนวนบัตรเครดิตที่เพิ่งเปิดใช้น้อย หมายถึง กลุ่มที่มีบัตรเครดิตหลายใบแต่ไม่ได้มีการใช้งานจริง จะถูกมองว่ามีโอกาสเป็นหนี้ในอนาคตสูง คะแนนก็จะไม่ดี

029 มีจำนวนการสืบค้นข้อมูลเครดิตมาก หมายถึง มีการขอกู้กับสถาบันการเงินหลายแห่งส่งผลให้คะแนนไม่ดี*


*ในการตรวจ NCB Score ท่านสามารถแจ้งขอประวัติการสืบค้นได้ด้วย จะมีข้อมูลว่าสถาบันการเงินใดขอสืบค้นข้อมูลเครดิตของเราบ้าง โดยจะแบ่งประเภทเป็น 01: อนุมัติสินเชื่อใหม่ และ 02: ทบทวนสินเชื่อ ดังรูป(Credit pic N_Amnouy)

                              

ท่านใดอยากรู้เกรดของตัวเองลองไปตรวจ NCB score ดูนะครับที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่
อาคาร 2 ชั้น 2
เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250
โทรสาร : (66) 02-612-5895
เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 . - 16.30 .
หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
(ให้บริการตรวจสอบทั้งข้อมูลบุคคลธรรมดาและข้อมูลนิติบุคคล)


นอกจากนี้ยังสามารถตรวจได้ที่บูธตามสถานีรถไฟฟ้าเช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพระรามเก้า เป็นต้น

อ้างอิง
2. https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/ncb-score

หมายเหตุ อัปเดตข่าวสารทุกวันที่เพจ "สังคมไทยไร้เงินสด" 

No comments:

Post a Comment