Wednesday, May 6, 2020

Merchant Category Code คืออะไร? (What is MCC?)


International Organization for Standardization (ISO) จัดทำรหัสผู้ค้า (Merchant Category Code: MCC) เสนอเป็นครั้งแรกโดย ISO 18245 เมื่อวันที่ 1 เมษายน .. 2003 โดยเป็นรหัสตัวเลข 4 หลักเพื่อระบุประเภทของธุรกิจนั้นๆ ปีต่อมาค.. 2004 กรมสรรพากรประเทศสหรัฐอเมริกา(Internal Revenue Service: IRS) ได้นำ MCC ไปใช้ในการจัดเก็บรายงานโดยย่อ นอกจากนี้ทางค่ายผู้ออกบัตรเครดิตเช่น VISA Mastercard ก็นำ MCC มาใช้เช่นกัน

ตัวอย่าง MCC
หมวดสาธารณูปโภค      4900
หมวดขนส่งสาธารณะ    4111, 4112, 4131, 4784
หมวดสถานีบริการน้ำมัน 5541, 5542
หมวดบริษัทประกัน       5960, 6300
Supermarket       5310, 5411, 5499
หมวดร้านอาหาร          5462, 5811 - 5814
สายการบิน                3000 - 3299, 4511
เช่ารถ                      3351 - 3441, 7512, 7513, 4519, 7523
โรงแรม                   3501 - 3828, 7011
บริษัททัวร์                 4722, 4723, 5962
สวนสนุก                  7996, 7998
ร้านปลอดภาษี            5309
ห้างสรรพสินค้า           5310, 5311

ตัวอย่างในไทย
4111 รถไฟฟ้า BTS/MRT, ตั๋วการรถไฟ
4131 รถเมล์ขสมก./รถทัวร์บขส.
4772 Agoda
4784 เติมเงิน EasyPass
4900 จ่ายบิลค่าไฟผ่านทรูมันนี่
5331 Lazada
5411 Tesco Lotus, Tops, BigC
5499 Lotus Express, Lawson, 7-Eleven
5541 ปั๊มบางจาก
5691 ช้อปยูนิโคล่ในห้าง
5812 บาร์บีคิวพลาซ่า
5814 Foodpanda
6540 easyBills เติมเงินทรูมันนี่
     
สิ่งนี้มาเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคอย่างเราตรงที่ทางธนาคารสำนักต่างๆ นำรหัสนี้ไปใช้ในบางโปรโมชั่นด้วยว่าจำกัดเฉพาะ MCC หมวดนั้นหมวดนี้ มีข้อควรระวังเช่น ร้านอาหารในโรงแรมมักจะใช้เครื่องรูดของโรงแรม MCC ก็จะเป็นหมวดโรงแรมไม่ใช่หมวดร้านอาหาร หรืออย่างร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าอาจจะใช้เครื่องรูดของห้างฯ MCC ก็จะไม่ใช่หมวดร้านอาหาร เป็นต้น
เในเซลล์สลิปไม่มีบอก MCC นะครับ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องรูดบัตรนั้นเป็น MCC อะไร? ถามเจ้าของร้านอาจจะรู้แต่ก็ไม่อยู่เสียนี่ ถามแคชเชียร์จะรู้หรือไม่รู้แล้วแต่ดวง โทรถามคอลเซ็นเตอร์ธนาคารจะบอกว่าลูกค้าต้องรูดบัตรไปก่อนพอร้านค้าทำบันทึกรายการส่งมาธนาคารคอลเซ็นเตอร์ถึงจะเช็คให้ได้ว่า MCC อะไร

ประเด็นนี้จึงทำให้เกิดดราม่าอยู่เนืองๆ เรื่องรูดบัตรแล้วไม่เข้าเกณฑ์โปรโมชั่น ฝ่ายที่เสียเปรียบคือผู้บริโภค ถ้าร้านไหนติดป้ายบอก MCC ที่เครื่องรูดด้วยจะได้ใจชาว TCS มากกก รบกวนด้วยนะคร้าบบบ^^

อ้างอิง
2. https://www.citibank.com/tts/solutions/commercial-cards/assets/docs/govt/Merchant-Category-Codes.pdf

หมายเหตุ อัปเดตข่าวสารทุกวันที่เพจ "สังคมไทยไร้เงินสด" 

Wednesday, April 15, 2020

ความหมายของเลขบัตรเครดิตแต่ละหลัก (Anatomy of credit card number)


เลขบัตรเครดิตที่เห็นยาว กันนั้นประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ด้วยกันคือ BIN, PAN และ Check digit โดยแต่ละส่วนมีความหมายดังนี้

"ส่วนแรก BIN"
ตัวเลข 8 ตัวแรก(เดิมใช้ 6 ตัวแรกเรียกว่า Issuer หรือ Bank Identification Number(IIN หรือ BIN) พัฒนาขึ้นมาโดย International Organization for Standardization (ISO) มี American Bankers Association เป็นหน่วยงานจัดสรรหมายเลข IIN

เลขตัวแรกของ IIN เรียกว่า Major Industry Identifier (MII) เป็นตัวบ่งบอก ประเภทของธุรกิจที่ออกบัตร ดังนี้
MII
Issuer category
0
ISO/TC 68 and other industry assignments
1
Airlines
2
Airlines, financial and other future industry assignments
3
Travel and entertainment
4
Banking and financial
5
Banking and financial
6
Merchandising and banking/financial
7
Petroleum and other future industry assignments
8
Healthcare, telecommunications and other future industry assignments
9
For assignment by national standards bodies

โดยค่ายผู้ออกบัตรแต่ละค่ายมีเลขขึ้นต้นของ BIN และความยาวของเลขบัตรมีกี่หลัก ดังนี้
Issuer
IIN(BIN)
ความยาวของเลขบัตร(หลัก)
AMEX
34, 37
15
JCB
3528-3589
16
VISA
4
13, 16, 19
Mastercard
51-55, 2221-2720
16
UnionPay
62, 81
16-19


"ส่วนที่สอง PAN"
ตัวเลขบัตรเครดิตถัดมาจนถึงตัวเลขสุดท้ายเรียกว่า Primary Account Number (PAN) จะจำเพาะต่อผู้ถือบัตรแต่ละคน โดยตัวเลขสุดท้ายจะเรียกว่า Check digit เอาไว้ตรวจสอบว่าเลขบัตรเครดิตนั้นถูกต้องหรือไม่? ตัวเลขถัดมาทางซ้ายก็จะรัน 1, 2, 3,... ตามลำดับการอนุมัติบัตร นั่นคือถ้าเลข 8 ตัวท้ายของบัตรเป็น 0000 077X ก็คือบัตรอนุมัติเป็นคนที่ 77 นั่นเองครับ

แต่ถ้าเป็นสำนัก TMB, BBL, AEON จะไม่ใช้วิธีการเรียงลำดับดังกล่าว แต่จะกำหนดเลขบัตร 4 ตัวท้ายเป็นรูปแบบที่ตายตัว คือ
X00X, X01X, X02X,... สำหรับ TMB
X11X, X12X, X13X,... สำหรับ BBL และ
XX0X, XX1X, XX2X,... สำหรับ AEON 

กลุ่มบัตรนี้ถ้าจะเรียงลำดับให้ดูที่เลขหลัก 8-13 หรือ 8-14 แทนครับ ตัวอย่างเช่น ของ TMB เป็น 4050 1617 0001 100X อันนี้จะเป็นการออกบัตรในลำดับที่ 11 ของ Series นั้นๆ (ตัดหลักที่ 14-16 ออกไป)

"ส่วนที่สาม Check digit"
Check digit(ในที่นี้จะแทนด้วยสัญลักษณ์ ?) ได้มาจากการใช้ Luhn algorithm (เทคนิคของผมคือจำว่า คูณสอง ลบเก้า คูณเก้า) ตัวอย่างเช่นบัตร Mastercard เลข 16 หลักคือ 5237 1645 0365 554(?) ลองมาคำนวณด้วย Luhn algorithm กันดูว่าเลขสุดท้ายควรเป็นเลขอะไร

ขั้นแรก จาก Check digit(?) ไล่ย้อนมาทางซ้ายมือให้คูณที่ตัวเลขตัวเว้นตัวด้วย 2 ตัวที่เว้นไว้ไม่ต้องคูณอะไรดังนี้
(5x2) 2 (3x2) 7 (1x2) 6 (4x2) 5 (0x2) 3 (6x2) 5 (5x2) 5 (4x2) ค่าที่คูณได้คือ (10) 2 (6) 7 (2) 6 (8) 5 (0) 3 (12) 5 (10) 5 (8)

ขั้นที่สอง ถ้าผลคูณในวงเล็บเกิน 9 ให้ลบออกด้วย 9 จะได้เป็น
(1) 2 (6) 7 (2) 6 (8) 5 (0) 3 (3) 5 (1) 5 (8)

ขั้นที่สาม นำตัวเลขทั้งหมดบวกรวมกัน จะได้เป็น
(1)+ 2+ (6)+ 7+ (2)+ 6+ (8)+ 5+ (0)+ 3+ (3)+ 5+ (1)+ 5+ (8) = 62

ขั้นสุดท้าย นำผลรวมที่ได้คูณด้วย 9 ได้ผลลัพธ์เท่าไหร่ ตัวเลขสุดท้ายคือ Check digit(?) นั่นคือ
62x9 = 558 แสดงว่า check digit คือเลข 8 นั่นเอง (แสดงว่าเลขบัตรดังกล่าวคือ 5237 1645 0365 5548)

เวลาซื้อของออนไลน์จะสังเกตเห็นว่าถ้าเราพิมพ์เลขบัตรถูกต้องจะมีเครื่องหมายถูกสีเขียว เพราะใช้ Luhn algorithm ในการตรวจสอบนั่นเอง

อ้างอิง
https://chargebacks911.com/bank-identification-numbers/

หมายเหตุ อัปเดตข่าวสารทุกวันที่เพจ "สังคมไทยไร้เงินสด"

Wednesday, April 1, 2020

บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (National Credit Bureau)



แนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี .. 2504 โดยสมาคมธนาคารไทยได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยว่ามีความประสงค์ให้มีแหล่งกลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการให้กู้ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มงานทะเบียนเครดิตกลางขึ้นตั้งแต่ปี .. 2507 หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา

.. 2541 กระทรวงการคลังมีนโยบายจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อและลดภาระหนี้เสียของสถาบันการเงินต่างๆ อันเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนของสถาบันการเงินในประเทศอยู่ในขณะนั้น กรกฎาคม 2541 ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จึงได้สั่งการให้ ธอส. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิตขึ้น โดย ธอส. ได้จัดตั้ง บริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด ส่วนฝ่ายธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ได้จัดตั้ง บริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด(เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัดในปีพ.. 2543) ต่อมาบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้รวมกิจการกับบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด(National Credit Bureau: NCB) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน

ตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตพ.ศ. 2545 กำหนดให้ธนาคารต้องส่งข้อมูลให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิตโดยกำหนดรหัสบอกสถานะบัญชีดังนี้

10 หมายถึง ปกติ
11 หมายถึง ปิดบัญชี
12 หมายถึง พักชำระหนี้ตามนโยบายของสมาชิก
13 หมายถึง พักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐ
14 หมายถึง พักชำระหนี้เกษตรกรตามนโยบายของรัฐ
20 หมายถึง หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน
30 หมายถึง อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย
31 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
32 หมายถึง ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากขาดอายุความ
33 หมายถึง ปิดบัญชีเนื่องจากตัดหนี้สูญ
40 หมายถึง อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อปิดบัญชี
41 หมายถึง เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการ
42 หมายถึง โอนหรือขายหนี้

ต่อมาพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(ฉบับที่ 3) .. 2551 กำหนดให้เครดิตบูโรสามารถจัดทำและเปิดเผยคะแนนเครดิตได้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับบริการสินเชื่อสอดคล้องกับศักยภาพในการชำระหนี้คืน ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินและเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศวันที่ 29 เม.. 2559 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบให้บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติให้บริการตรวจคะแนนเครดิต โดยเครดิตบูโรเริ่มให้บริการตรวจ NCB score ตั้งแต่วันที่ 16 .. 2559 เป็นต้นมา

แบบจำลองคะแนนเครดิต(Credit scoring) คือ เครื่องมือที่ใช้กระบวนการทางสถิติทำขึ้นเพื่อกำหนดตัวชี้วัดความน่าจะเป็นในการชำระคืนหนี้ สถาบันการเงินจึงใช้สิ่งนี้ในการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ เป็นต้น

ตัวอย่างข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณคะแนนเครดิตได้แก่

ส่วนที่ 1: ข้อมูลผู้ขอสินเชื่อ(Demography) มาจากใบคำขอสินเชื่อ เช่น
- เพศ อายุ การศึกษา
- อาชีพ/ประสบการณ์ทำงาน
- รายได้ปัจจุบัน

ส่วนที่ 2: ข้อมูลประวัติการชำระหนี้(Payment behavior) เช่น
- จำนวนครั้งที่ค้างชำระ 12 เดือนล่าสุด
- % การใช้วงเงินเฉลี่ยใน 3 เดือน
- ระยะเวลาไม่ชำระหนี้ใน 6 เดือน
- จำนวนบัตรเครดิตที่เปิดใหม่ใน 6 เดือน
- ยอดหนี้คงค้างทั้งหมด/รายได้
- จำนวนครั้งที่เช็คข้อมูล NCB ใน 12 เดือน

ส่วนที่ 3: เงื่อนไขการกู้ยืม เช่น
- สัดส่วน down payment
- ระยะเวลาการกู้ยืม

สรุปปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนเครดิตได้แก่
1. Utilization Pattern หมายถึง ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ เปรียบเทียบกับวงเงินสินเชื่อ
2. Debt Burden หมายถึง ยอดหนี้คงเหลือ/ยอดวงเงินที่ใช้ รวมแต่ละประเภทสินเชื่อ
3. Recent Credit หมายถึง จำนวนบัญชีที่พึ่งเปิด แต่ละประเภทสินเชื่อ
4. Severity and Recency of Delinquency หมายถึง จำนวนเงินคงค้างล่าสุด
5. Depth of Credit หมายถึง ความยาวของประวัติสินเชื่อตามแต่ละประเภทสินเชื่อ
6. Thickness of Credit with good repayment หมายถึง จำนวนบัญชีที่มีประวัติการชำระเงินที่ดี
7. Available Credit หมายถึง ความยาวของบัญชีสินเชื่อที่มี
8. Enquiry Activity หมายถึง ความถี่การสมัครสินเชื่อใหม่

NCB score มีคะแนนตั้งแต่ 300 ถึง 900 คะแนน โดยตัดเกรดเป็น AA(ดีมาก) ถึง HH(แย่มาก) ดังนี้

คะแนน ระดับเครดิต
746-900 AA
716-745 BB
685-715 CC
668-684 DD
653-667 EE
631-652 FF
602-630 GG
300-601 HH

ทั้งนี้จะมีการแสดงเหตุผลประกอบการให้คะแนนไว้ไม่เกิน 5 ข้อดังนี้

014 มีภาระหนี้รวมคงค้างในระดับสูง หมายถึง มีสินเชื่ออยู่หลายบัญชีหรือไม่ แล้วหนี้ที่มีอยู่นั้นมีปริมาณมากน้อยเพียงใด หากมีหนี้เยอะจะทำให้ได้คะแนนน้อย

019 มีข้อมูลจำกัดในรายละเอียดของประวัติเงินกู้ หมายถึง หากเป็นหนี้มาไม่นานนักอาจจะไม่สะท้อนพฤติกรรมในการชำระหนี้ได้มากนัก คะแนนก็จะไม่ดี

023 มีข้อมูลแสดงการค้างชำระ หมายถึง อาจจะเคยค้างชำระหนี้มา คะแนนก็จะน้อย

027 มีจำนวนบัตรเครดิตที่เพิ่งเปิดใช้น้อย หมายถึง กลุ่มที่มีบัตรเครดิตหลายใบแต่ไม่ได้มีการใช้งานจริง จะถูกมองว่ามีโอกาสเป็นหนี้ในอนาคตสูง คะแนนก็จะไม่ดี

029 มีจำนวนการสืบค้นข้อมูลเครดิตมาก หมายถึง มีการขอกู้กับสถาบันการเงินหลายแห่งส่งผลให้คะแนนไม่ดี*


*ในการตรวจ NCB Score ท่านสามารถแจ้งขอประวัติการสืบค้นได้ด้วย จะมีข้อมูลว่าสถาบันการเงินใดขอสืบค้นข้อมูลเครดิตของเราบ้าง โดยจะแบ่งประเภทเป็น 01: อนุมัติสินเชื่อใหม่ และ 02: ทบทวนสินเชื่อ ดังรูป(Credit pic N_Amnouy)

                              

ท่านใดอยากรู้เกรดของตัวเองลองไปตรวจ NCB score ดูนะครับที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่
อาคาร 2 ชั้น 2
เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250
โทรสาร : (66) 02-612-5895
เปิดทำการเฉพาะวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 . - 16.30 .
หยุดวันหยุดนักขัตฤกษ์
(ให้บริการตรวจสอบทั้งข้อมูลบุคคลธรรมดาและข้อมูลนิติบุคคล)


นอกจากนี้ยังสามารถตรวจได้ที่บูธตามสถานีรถไฟฟ้าเช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพระรามเก้า เป็นต้น

อ้างอิง
2. https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/ncb-score

หมายเหตุ อัปเดตข่าวสารทุกวันที่เพจ "สังคมไทยไร้เงินสด"