บัตรเครดิตเป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1950 ภายใต้ชื่อบัตร Diners’ Club
ต่อมาในปีค.ศ. 1958 ก็เกิดคู่แข่งคือบัตร American Express(AMEX) อย่างไรก็ตามทั้งสองเป็นบัตร charge card นั่นคือผู้ถือบัตรต้องชำระเงินเต็มจำนวนภายใน 30 วัน ผู้ใช้งานและร้านค้าจึงจำกัดอยู่ในสังคมชั้นสูง Joseph P. Williams(1915-2003) หัวหน้าหน่วยวิจัยการบริการลูกค้าของธนาคาร Bank of America มองเห็นปัญหานี้จึงคิดผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตเพื่อชนชั้นกลางและใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดกลางถึงเล็กได้ด้วย โดยเมื่อครบกำหนดเวลาผู้ถือบัตรสามารถชำระเงินคืนบางส่วนแต่จะมีดอกเบี้ยเกิดขึ้นเรียกว่าเป็น “สินเชื่อหมุนเวียน(Revolving credit)” บัตรเครดิตนี้มีชื่อว่า BankAmericard โดยโลโก้ตรงกลางเป็นตัวอักษรสีน้ำเงิน พื้นหลังสีขาว ด้านบนมีแถบสีน้ำเงินและด้านล่างมีแถบสีทอง สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้า ส่วนสีทองหมายถึงเนินทรายของแคลิฟอร์เนีย เพราะ Bank of America สาขาแรกก่อตั้งที่แคลิฟอร์เนียนั่นเอง
ธนาคารเริ่มทดสอบโครงการนี้ในปีค.ศ. 1958 ที่เมือง Fresno รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า “carry your credit in your pocket” หลังจากนั้นไม่กี่วันบัตรเครดิต 60,000 ใบ(วงเงินจำกัดที่ 300 ดอลลาร์สหรัฐ) ก็ถูกส่งไปให้ลูกค้าถึงบ้าน และ 15 เดือนต่อมาก็แจกจ่ายบัตรไปได้กว่า 2,000,000 ใบ เหตุการณ์นี้ได้รับการขนานนามว่า “official dawn of credit card(รุ่งอรุณของบัตรเครดิตอย่างเป็นทางการ)”
โครงการเติบโตดีแต่เนื่องจาก Williams ไม่เคยทำงานแผนกสินเชื่อมาก่อน ตัวเลขลูกค้าเบี้ยวหนี้ที่คาดไว้ 4% กลับพุ่งไปถึง 22% (ก็แหงล่ะเล่นแจกบัตรไม่บันยะบันยังเอง) ทำให้ธนาคารสูญเงินไปกว่า 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ Williams จึงรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งไป โชคดีที่ทีมงานใหม่เข้ามาสะสางปัญหาต่างๆ จนกลับมาทำกำไรให้ธนาคาร บัตรเครดิต BankAmericard จึงได้ไปต่อ
ค.ศ. 1966 ธนาคารในรัฐแคลิฟอร์เนีย 4 แห่งจับมือกันก่อตั้ง Interbank Card Association(ICA) เพื่อออกบัตรเครดิต MasterCharge(ปัจจุบันคือ Mastercard) เมื่อมีคู่แข่งจึงเป็นแรงผลักดันให้ BankAmericard ต้องขยายโครงข่ายด้วยการให้ license กับธนาคารอื่นๆ นอกรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมถึงต่างประเทศด้วย เมื่อมีธนาคารออกบัตรได้มากขึ้นก็เจออุปสรรคต่างๆ มากมาย ในที่สุดปีค.ศ. 1970 BankAmericard จำต้องแยกออกจากธนาคาร Bank of America แล้วให้ธนาคารในอเมริกาที่ถือ license อยู่มารวมตัวกันจัดตั้ง National BankAmericard Inc.(NBI) โดยมี Dee Ward Hock(เกิด ค.ศ. 1929) เป็นประธาน ต่อมาธนาคารในต่างประเทศที่ได้ license ก็พบอุปสรรคเช่นเดียวกันจึงรวมตัวกันจัดตั้ง International Bankcard Company (IBANCO) ในปีค.ศ. 1974
ค.ศ. 1975 บริษัทเปิดตัวบัตรเดบิตเป็นครั้งแรกโดยบัตรนี้ต่างจากบัตรเครดิตตรงที่จะตัดเงินจากบัญชีธนาคารที่ผูกไว้กับบัตรโดยตรง
ค.ศ. 1976 NBI กับ IBANCO รวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวโดย Hock ตั้งชื่อบริษัทว่า VISA เพราะเป็นคำสากลที่ทุกประเทศรู้จัก NBI กลายเป็น Visa USA ส่วน IBANCO กลายเป็น Visa International นอกจากนี้ยังมีอีก 2 บริษัทที่เป็นเอกเทศคือ Visa Canada และ Visa Europe โดยโลโก้ใช้รูปแบบเดิมเพียงเปลี่ยนตัวอักษรตรงกลางจาก BankAmericard เป็น VISA
ค.ศ. 2006 มีการปรับโลโก้ใหม่โดยนำแถบสีบนและล่างออกไป เหลือเพียงอักษร VISA สีน้ำเงินบนพื้นหลังสีขาว และหลงเหลือสีทองไว้ที่จุดเริ่มต้นของตัว V เท่านั้น
ค.ศ. 2007 Visa International, Visa USA และ Visa Canada รวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวคือ Visa Inc. หนึ่งปีต่อมาบริษัทก็เข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กโดยใช้สัญลักษณ์ “V” และกลายเป็นบริษัท Initial public offering(IPO) ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
ค.ศ. 2014 มีการปรับโลโก้อีกครั้งโดยนำสีทองที่จุดเริ่มต้นของตัว V ออกไป
จากความพยายามหลายปีในที่สุดค.ศ. 2016 Visa Inc. ก็ซื้อกิจการ Visa Europe เข้ามารวมเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ Visa Inc. รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วแต่บัตร VISA ไม่ได้มีแค่หนึ่งเดียวนะ มีการแบ่งฐานันดรบัตรเป็นระดับต่างๆ เรียงลำดับจากพื้นฐานไปยังสูงสุดคือ VISA Classic -> Gold -> Platinum -> Signature
-> Infinite โดยจะพิมพ์ฐานันดรบัตรไว้ใต้สัญลักษณ์ VISA
ประเทศไทยสำนัก KTC เริ่มออกบัตรเครดิต VISA Infinite เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 2005 แต่บัตร VISA Infinite พึ่งเริ่มมาได้รับความสนใจในปีค.ศ. 2011 เมื่อ Citi ออกบัตร Citi Ultima จากนั้นก็มีสำนักต่างๆ ออกบัตรเพิ่มเติมเรื่อยมา จนปัจจุบันมีทั้งหมดกี่สำนักแล้ว? มาดูกันเลยยย
เปิดตัวปีค.ศ. 2005
- KTC VISA Infinite
- KTC VISA Infinite
เปิดตัวปีค.ศ. 2006-2010 ไม่มี
เปิดตัวปีค.ศ. 2011
- Citi Ultima
- Citi Ultima
เปิดตัวปีค.ศ. 2012
- KTC-KTB Precious Plus VISA Infinite
- KTC-KTB Precious Plus VISA Infinite
เปิดตัวปีค.ศ. 2013
- SCB private banking
- SCB private banking
เปิดตัวปีค.ศ. 2014
- The Wisdom VISA Infinite
- Citi Ultima Metal
- The Wisdom VISA Infinite
- Citi Ultima Metal
เปิดตัวปีค.ศ. 2015
- Bangkok Bank VISA Infinite
- Citi prestige
- Bangkok Bank VISA Infinite
- Citi prestige
เปิดตัวปีค.ศ. 2016
- Citi ROP preferred
- Citi ROP preferred
เปิดตัวปีค.ศ. 2017 ไม่มี
เปิดตัวปีค.ศ. 2018
- UOB Infinite
- SCB M LEGEND
- KBank OneSiam VISA Infinite
- UOB Infinite
- SCB M LEGEND
- KBank OneSiam VISA Infinite
เปิดตัวปีค.ศ. 2019 ไม่มี
สรุปว่าปัจจุบันมี 6 สำนักที่มีบัตร VISA Infinite ได้แก่ KTC, Citi, SCB, KBank, BBL และ UOB อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดไม่ได้อยู่ที่บัตรของท่านเป็นระดับใดแค่ขอให้วงเงินในบัตรเพียงพอต่อการใช้ครั้งนั้นก็พอ รูดไปจะได้ไม่หน้าแตกนะคร้าบบบ^^
อ้างอิง
1. WOLTERS, T. (2000). "Carry Your Credit in Your Pocket": The Early History of the Credit Card at Bank of America and Chase Manhattan. Enterprise & Society, 1(2), 315-354. Retrieved from http://www.jstor.org/stable/23699776
1. WOLTERS, T. (2000). "Carry Your Credit in Your Pocket": The Early History of the Credit Card at Bank of America and Chase Manhattan. Enterprise & Society, 1(2), 315-354. Retrieved from http://www.jstor.org/stable/23699776
No comments:
Post a Comment